ประวัติสถานศึกษา

ตราประจําวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม

ตราวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม เป็นรูปเสมาธรรมจักรมีวงล้อม และมีตัวอักษรที่สําคัญยิ่ง คือ ทุ ส นิ ม คำว่า ทุ ส นิ ม นี้ จึงปรากฎบนตราวิทยาลัย ที่มาของคํามาจากหลักธรรมของ พระพุทธองค์ คือ “อริยสัจ 4″ พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่า เป็นสัจจะ (ความจริง ที่เป็นประโยชน์แก่การดํารงชีวิตในปัจจุบัน อริยสัจจะ แปลว่า “สัจจะของผู้ประเสริฐ (ผู้เจริญ) ที่ผู้ประเสริฐพึงรู้” สัจจะที่ทําให้เป็นผู้ประเสริฐหรือแปลรวบรัดว่า “สัจจะอย่างประเสริฐ จึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลกหรือของตนเอง” แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง

ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัย

วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคามจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2479 ตามความคิดเห็นหลวงอังคณานุรักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคามในสมัยนั้น เดิมชื่อ “โรงเรียนประถมอาชีพช่างปั้นอำเภอเมืองมหาสารคาม” รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนหลักสูตร 2 ปี มีนายเที่ยง ภวภูตานนท์ เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เปิดสอนอีก 2 แผนกวิชา คือ  แผนกช่างจักสานและแผนกช่างเย็บเสื้อผ้า  เรียกว่า  ประโยคอาชีวศึกษาเบื้องต้น  หลักสูตร  2  ปี

          พ.ศ.  2480   ยกฐานะเป็นโรงเรียนรัฐบาล  สังกัดกรมวิชาการ

          พ.ศ.  2482   ย้ายแผนกช่างจักสานและแผนกช่างปั้นไปรวมกับแผนกช่างไม้ที่โรงเรียนการช่างมหาสารคาม (วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม ในปัจจุบัน) เหลือเฉพาะแผนกช่างเย็บผ้า และได้เปิดแผนกช่างทอผ้าเพิ่มขึ้น เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้ามหาสารคาม”  มีนายอุ่น  ภวภูตานนท์  เป็นครูใหญ่

          พ.ศ.  2494  ขยายเป็นหลักสูตร  3  ปี เรียก “ประโยคอาชีวศึกษาชั้นกลาง“ ยุบแผนกช่างทอผ้า เนื่องจากไม่อยู่ในความนิยมของท้องถิ่นสมัยนั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น  “โรงเรียนการช่างสตรีมหาสารคาม”  มีนางมะลิ  หนโชติ  เป็นครูใหญ่

          พ.ศ. 2500  เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง  หลักสูตร  3  ปี  2  แผนกวิชา คือ แผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย  และแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ  รับนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  เข้าเรียน  เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับ  “ประกาศนียบัตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง

          พ.ศ. 2507  โรงเรียนเข้าโครงการยูนิเชฟ เปิดสอนแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ  และแผนกวิชาศิลปหัตถกรรม (ช่างเคลือบดินเผา)  และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น “โรงเรียนอาชีวศึกษามหาสารคาม

          1  ตุลาคม  พ.ศ. 2519  รวมกับโรงเรียนการช่างมหาสารคาม  ยกฐานะเป็นวิทยาลัยและเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม วิทยาเขต 2”  ต่อมาเมื่อวันที่   1  มกราคม  พ.ศ.2522  แยกวิทยาเขต และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม”  มาจนถึงปัจจุบัน

          พ.ศ. 2523  แผนกวิชาศิลปหัตถกรรม  เปลี่ยนมาเป็นแผนกวิชาศิลปกรรม  เปิดสอนเฉพาะสาขาวิชาวิจิตรศิลป์

          พ.ศ.  2524  เปิดสอนสาขาวิชาการบัญชี

          พ.ศ.  2530  เปิดสอนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปวท.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค) และ ปวส.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)

          พ.ศ.  2536  เปิดสอนสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์

          พ.ศ.  2537  เปิดสอนสาขางานการเลขานุการ  และหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง(ปทส.)  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ซึ่งเป็นหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรี  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เข้าเรียน

          พ.ศ.  2546  จัดตั้งคณะวิชาใหม่ 2  คณะวิชา  คือ  คณะวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะวิชาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว  โดยได้เปิดสอนสาขาวิชาใหม่ 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับ ปวส. สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ  ระดับ ปวส. ระบบทวิภาคี และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับ ปวช. ซึ่งต่อมาได้เปิดสอนในระดับ ปวส. เมื่อปี พ.ศ.  2549

          พ.ศ.  2548  เปิดสอนสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร  ระดับ ปวส.

          พ.ศ.  2550  ปรับโครงสร้างการบริหาร ตามระเบียบการบริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2549   ยกเลิกคณะวิชา  มีการยุบรวม – แยกและจัดตั้งแผนกวิชาใหม่ดังนี้  ยุบรวมแผนกวิชาสามัญและแผนกวิชาสัมพันธ์ เป็นแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ แยกแผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายออกเป็นแผนกวิชาใหม่  3  แผนกวิชา  คือ  แผนกวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย  แผนกวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม  และแผนกวิชาเทคโนโลยีออกแบบเครื่องแต่งกาย  จัดตั้งแผนกวิชาใหม่  2  แผนกวิชา  คือ  แผนกวิชาเสริมสวย  แผนกวิชาอุตสาหกรรมอาหาร  และปรับเปลี่ยนชื่อแผนกวิชาการเลขานุการเป็นแผนกวิชาการจัดการทั่วไป ต่อมามีการปรับโครงสร้างการบริหารตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

          พ.ศ.  2556  เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ  สาขาวิชาการบัญชี

          พ.ศ.  2557  เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

          พ.ศ.  2562  เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ  สาขาวิชาการตลาด

          พ.ศ.  2563  เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ  สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน และสาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก

          พ.ศ.  2565  เปลี่ยนชื่อภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็น ภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

 

แผนผังวิทยาลัย

 

 

สีทางราชการวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม คือ แดง-น้ําเงิน

           แดงเลือดหมู หมายถึง ความเสียสละ ความกล้าหาญ ความกล้าที่จะคิด กล้าสู้ต่ออุปสรรคต่างๆ

           น้ําเงิน หมายถึง ความหนักแน่นมีใจอดทน สุขุม รอบคอบ

           แดง-น้ำเงิน จึงมีความหมายว่า ชาวอาชีวศึกษาทุกคนจะต้องมีความกล้าหาญที่ จะคิดด้วยความสุขุม รอบคอบ เพื่อริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ กล้าต่อสู้อุปสรรคทั้งปวง ด้วนความ หนักแน่น อดทน ยอมเสียสละความสุขส่วนตัว ช่วยพัฒนาประเทศเพื่อรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์

ปรัชญาวิทยาลัย

       ทักษะเยี่ยม เปี่ยมความรู้ คู่คุณธรรม นําวิถีชีวิตอย่างพอเพียง

อัตลักษณ์
      มีคุณธรรม นำเทคโนโลยี รู้จริง ทำได้ บนพื้นฐานความพอเพียง

คุณธรรมอัตลักษณ์
      รับผิดชอบ สามัคคี มีวินัย

เอกลักษณ์
      จิตอาสา รักษาวัฒนธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ค่านิยม
      สังคมแห่งการเรียนรู้ คิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล

นโยบายการพัฒนาสถานศึกษา
      สถาบันแห่งการบูรณาการ ผสานองค์ความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (Vision)
     “ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สากลภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ (Mission)

          พันธกิจที่ 1 : ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐานทุกระดับ มีศักยภาพตรงตามความต้องการของประเทศ

          พันธกิจที่ 2 : ส่งเสริมงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และบริการวิชาชีพเพื่อพัฒนารากฐานองค์ความรู้สนับสนุนต่อการพัฒนาประเทศ

          พันธกิจที่ 3 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา

          พันธกิจที่ 4 : พัฒนาระบบบริหารจัดการและองค์กรคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน

 ประเด็นยุทธศาสตร์

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้านวิชาชีพตรงตามความต้องการของประเทศ

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : วิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ส่งเสริมการให้บริการวิชาชีพเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาคุณภาพอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์

         1. เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้ตรงตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาและกอปรด้วยคุณธรรม

         2. เพื่อบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ตลอดจนนโยบายของชาติ

         3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านด้านวิชาการ  วิชาชีพ  และการบริการชุมชน

         4. ส่งเสริมการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอก

         5. เพื่อเสริมสร้างปลูกฝังให้มีจิตสำนึกทำนุบำรุงศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีแก่บุคลากร

 

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม

      1. ความขยัน หมายถึง ความตั้งใจ เพียรพยายาม ในการทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกที่ควรด้วยใจรัก อย่างแข็งขัน จริงจัง ไม่ท้อถอย ไม่เกียจคร้าน ไม่ปล่อยปละละเลย กล้าเผชิญกับอุปสรรค และทําหรือ ประพฤติเป็นปกติสม่ําเสมอ

      2. ความประหยัด หมายถึง การรู้จักยับยั้งชั่งใจ ระมัดระวังในการใช้จ่ายแต่พอควรกับฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟื้อ รู้จักคิดก่อนใช้หรือจ่าย รู้จักเก็บออม รู้จักใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างถนอมให้เกิด ประโยชน์คุ้มค่า

      3. ความซื่อสัตย์ หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และไม่โกหก หลอกลวง ไม่หยิบฉวยของคนอื่นมาเป็นของตนเองโดยไม่บอกกล่าว

      4. ความมีวินัย หมายถึง การยึดมั่นและปฏิบัติตนในขอบเขตข้อตกลง ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ กฎ ระเบียบ แบบแผนของสังคม สถานศึกษา ห้องเรียน กลุ่มด้วยความเต็มใจ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและ วินัยต่อสังคม

      5. ความสุภาพ หมายถึง การมีกริยามารยาททางกาย วาจา ที่เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ

      6. ความสะอาด หมายถึง ความไม่สกปรก ไม่เลอะ ความหมดจด ผ่องใส ความบริสุทธิ์ เป็น ที่เจริญตา และก่อให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ในที่นี้หมายถึง ความสะอาดของร่างกาย สิ่งของ เครื่องใช้ ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมตามสุขลักษณะ

      7. ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียง ปรองดอง ความกลมเกลียว ความร่วมมือร่วมใจ กัน ปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามต้องการ เกิดงานอย่างสร้างสรรค์ โดยปราศจากการทะเลาะวิวาท เอารัดเอาเปรียบกัน เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล รู้บทบาทของตนทั้งใน ฐานะผู้นําและผู้ตามที่ดี พร้อมที่จะ ปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

      8. ความมีน้ําใจ หมายถึง นิสัยใจคอที่มีความจริงใจ เอื้อเฟื้อ ไม่เห็นแก่ตัว เห็นอกเห็นใจ และ เห็นคุณค่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจําเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่นรู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตนให้กับผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน